แต่ละก้าวที่ย่างเดิน


ตราบยังมีแสงทองส่องฟากฟ้า
การเดินทางค้นหาไม่สิ้นสุด
อุปสรรคนานามายื้อยุด
ไม่อาจฉุดใจฉันเพราะมั่นคง



วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก

ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก

.." กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน

งานกราฟิก หมายถึง งานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย

คุณค่าของงานกราฟิกงานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง


1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์6. ทำใหู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด

การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
สีและการใช้สี
สี (Colors) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบสื่อสองมิติ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพราะนอกเหนือไปจากให้ความสวยงามให้ความเหมือนจริงของสิ่งที่อยู่ภายในภาพแล้ว สียังช่วย
ชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และความสำคัญได้อย่างชัดเจน


ในแง่มุมของจิตวิทยา สีสามารถให้ความรู้สึกทางอารมณ์กับผู้ดู
(ผู้เรียน) ดังนี้


สีแดง เป็นสีที่เด่นสะดุดตาเหมาะสำหรับการเน้นความสำคัญของส่วนต่าง ๆ เนื่องจากสีแดงเป็นสีที่แสดงออกถึงการ
แข่งขัน ความตื่นเต้น ภัยอันตราย ความกล้าหาญและอำนาจการใช้สีแดงจัดจ้านในเนื้อที่กว้าง ๆ จะมีผลทำให้ผู้เรียน
สายตาอ่อนล้าเมื่อจ้องมองภาพนาน ๆ
สีน้ำเงิน เป็นสีที่บอกถึงความปลอดภัย สงบเยือกเย็น ความมั่นใจ ความรอบรู้ มีน้ำใจ มีคุณธรรม และความกลมเกลียวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับสีแดง แต่ถ้าลดความเข้มของสีน้ำเงินจะทำให้มีบรรยากาศร่าเริงแจ่มใสขึ้น

สีเขียว ให้ความรู้สึกร้อนและเย็นใจขณะเดียวกัน สีเขียวแก่จะให้อารมณ์ที่สงบ ปลอดภัย ร่มเย็น ขณะที่สีเขียวอ่อนจะ
แสดงถึงความอบอุ่น กระฉับกระเฉง ร่าเริง ในด้านการสื่อความหมายมักนำสีเขียวมาเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม ความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต ส่วนของการออกแบบหน้าจอมักไม่นิยมสีเขียวควบคู่กับสีแดงใน
สัดส่วนเท่า ๆ กัน เพราะเป็นสีที่ตัดกันรุนแรงทำให้ผู้เรียนต้องใช้สายตามาก


สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส ร่าเริง สง่างาม และความสุข ความสว่างของสีเหลืองทำให้ดูโดดเด่น ผู้ผลิต
สามารถนำสีเหลืองมาใช้ร่วมกับสีเข้ม เช่น สีดำ เทา หรือสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นขึ้น

สีม่วง ให้ความรู้สึกลึกลับ สงบ คล้ายกับสีน้ำเงินแก่ แต่เนื่องจากสีม่วงยังมีความตื่นเต้นของสีแดงเจืออยู่ บางครั้ง
ทำให้ดูหรูหรา สง่างาม โดยทั่วไปจะสีม่วงเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณและปัญญา

สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเรียบง่าย ทนทาน มั่นคง มักใช้เน้นวัตถุกับความเก่าแก่โบราณ บางครั้งจะใช้กับอารมณ์ที่ซึมเศร้า
หดหู่ เบื่อหน่าย ในด้านของการสื่อความหมายด้วยภาพจะใช้กับบรรยากาศที่แห้งแล้ง น่าสพรึงกลัว

สีดำ แสดงให้เห็นถึงความลึกลับ ซับซ้อน ความน่ากลัวความทุกข์ และความตาย สีดำเมื่อนำมาใช้กับสีอื่น ๆ จะให้
ความสวยงามและความรู้สึกทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เช่นสีดำใช้คู่กับสีขาวในสัดส่วนที่สมดุลของความสว่างของ
สีที่เท่า ๆ กัน อาจแสดงถึงความรอบคอบและมั่นคง เป็นต้น


สีเทา เป็นสีกลาง ๆ ที่แสดงถึงความสุภาพ สุขุม สีเทาเป็นสีที่ไม่มีความเด่นเฉพาะตัวเหมือนสีแดงหรือสีน้ำเงิน ดังนั้น
เมื่อนำสีเทาไปใช้คู่กับสีอื่น ๆ ความรู้สึกของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามอิทธิพลของสีใกล้เคียง เช่น สีเทาคู่กับสีม่วงจะให้
ความสง่างาม มั่นคง


สีขาว เป็นสีที่คู่กับสีอื่น ๆ ได้ดี สีขาวช่วยให้ภาพหรือข้อความมีความโดดเด่น สามารถนำมาเป็นจุดเน้นเพื่อนำสู่เป้าหมาย
ที่ต้องการได้ดี ในด้านของอารมณ์สีขาวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกบริสุทธ์ิ สดใส ความอ่อนเยาว์









สำหรับงานศิลปะ การใช้สีเพื่อการสื่อความหมาย จะยึดการแบ่งสีเป็นสีหลัก ๆ อยู่ 3 สี คือ สีแดง น้ำเงิน และสีเหลือง เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า แม่สี และการที่มีสีเกิดขึ้นมีจำนวนมากมายตามที่พบเห็นกันในชีวิตประจำวันนั้น เป็นการผสมระหว่างแม่สีทั้งสาม ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทำให้สีที่เกิดมีความหลากหลาย เช่น สีแดงผสมกับสีเหลืองในอัตราส่วนเท่า ๆ กันจะได้สีส้ม สีน้ำเงินผสมกับแดงจะได้สีม่วง เป็นต้น

โทนของสี
โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
1. โทนสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความสดใส ร้อนแรง ฉูดฉาดหรือรื่นเริง สีในกลุ่มนี้ ได้แก่ สีเหลือง สีแกง สีส้ม และสีไกล้เคลีย
2. โทนสีเย็นความรู้สกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงเยือกเย็นจนถึงซึมเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียวและสีทีใกล้เคียง

การเขียนภาพการ์ตูน

สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องใหก้คนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"



การออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ

2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ


ไม่มีความคิดเห็น: